เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 5.ฌานสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะ
เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :510 }