เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
หรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า หดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ1 ก็รู้ว่า เป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า ไม่เป็น
มหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า ไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า ไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง ฯลฯ2 พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังอยู่ว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ3 ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

คาวีอุปมาสูตรที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 จิตเป็นมหัคคตะ แปลว่าจิตที่ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ที่ชื่อว่าถึง
ความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือหมายถึงจิตที่ดำเนิน
ไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. 1/104/366, 366, อภิ.สงฺ.อ. 12/92) และดู
องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/23/28/-30, อภิ.สงฺ. (แปล) 34/160-268/57-85
2 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 223 ในเล่มนี้
3 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 224 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :507 }