เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’
เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :505 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่’ เธอไม่ติดใจสัญญาเวทยิตนิโรธ
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้น ๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน1 ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ2 ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไป
เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อมีเหตุ3 เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า มีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้ว่า ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า มีโมหะ

เชิงอรรถ :
1 เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ 4 ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. 3/35/308)
2 อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร 4 บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้
หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.นวก.อ.
3/35/308, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/304)
3 เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) กล่าว
คือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา 6 ประการบ้าง หมายถึง
วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ๆ
(องฺ.ติก.อ. 2/102/255, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/71-74/175)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :506 }