เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง 2 ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา
โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่
ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง
ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง
ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง
ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา
ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :504 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’
เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :505 }