เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยาย
นี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”
นิพพานสุขสูตรที่ 3 จบ

4. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[35] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร
ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน
เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้
เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง
ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น
โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต1นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


เชิงอรรถ :
1นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. 3/35/308)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :503 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง 2 ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา
โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่
ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง
ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง
ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง
ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา
ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :504 }