เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 3.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น
ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน
แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้ง
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้น
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉัน
ใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น
ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :502 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 4.คาวีอุปมาสูตร
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยาย
นี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”
นิพพานสุขสูตรที่ 3 จบ

4. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[35] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร
ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน
เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้
เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง
ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น
โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต1นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


เชิงอรรถ :
1นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. 3/35/308)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :503 }