เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 2.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้
และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
9. เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และ
ท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่าน
เหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็น
ผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับใน
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :499 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 3.นิพพานสุขสูตร
3. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข1
[34] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน2
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข
กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ 5 ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข

เชิงอรรถ :
1 ดูข้อ 42 (สัมพาธสูตร) หน้า 533 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 26 (สิลายูปสูตร) หน้า 484 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :500 }