เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 2.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
4. เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และคน
เหล่าไหนเล่าดับอุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’
เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อุเบกขาและ
สุขย่อมดับในจตุตถฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้
สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชม
ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไป
นั่งใกล้เป็นแน่
5. เรากล่าวว่า รูปสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญา
ได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว
ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รูปสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับรูปสัญญาได้
สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา
ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
รูปสัญญาย่อมดับในอากาสานัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้น
ดับรูปสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ
ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
6. เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากาสานัญจายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :497 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 2.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากาสานัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับใน
วิญญาณัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
7. เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณัญจายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘ไม่มีอะไร’ อยู่ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในอากิญจัญญายตน-
ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
8. เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากิญจัญญายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากิญจัญญายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :498 }