เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 2.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
4. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
1. อนุปุพพวิหารสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม
[32] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม1 9 ประการนี้
อนุปุพพวิหารธรรม 9 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ปฐมฌาน 2. ทุติยฌาน
3. ตติยฌาน 4. จตุตถฌาน
5. อากาสานัญจายตนฌาน 6. วิญญาณัญจายตนฌาน
7. อากิญจัญญายตนฌาน 8. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
9. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม 9 ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสูตรที่ 1 จบ

2. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ
[33] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนี้ เธอ
ทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ฯลฯ
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม
ทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
1 อนุปุพพวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ (องฺ.นวก.อ. 3/32-33/307) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/828/531

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :495 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.มหาวรรค 2.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายดับที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
กามได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นก็ดับ
กามได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
2. เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิตกและวิจารดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลาย
พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตก-
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ วิตกและวิจารย่อมดับใน
ทุติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกและวิจารได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
3. เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้สนิทอยู่
ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ปีติย่อมดับ
ในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับปีติได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เรา
ไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ปีติย่อมดับในตติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :496 }