เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.สัตตาวาสวรรค 4.สัตตาวาสสูตร
3. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
4. เพราะอาศัยการวินิจฉัย1 ฉันทราคะ2 จึงเกิดขึ้น
5. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
6. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
7. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
8. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น
9. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ
ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ 3 จบ

4. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส3
[24] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) 9 ประการนี้
สัตตาวาส 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 1

เชิงอรรถ :
1 วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย 4 ประการ คือ (1) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ
ความสุขภายใน (2) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย 108 (3) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ 62
(4) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้
ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า
สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. 3/23/304)
2 ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ
(องฺ.นวก.อ. 2/23/305)
3 ดูสัตตกนิบาตข้อ 44 (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า 67-68 ในเล่มนี้ และดู ที.ม. 10/127/61-62,
ที.ปา. 11/357/258, ขุ.จู. (แปล) 30/83/289

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :481 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.สัตตาวาสวรรค 4.สัตตาวาสสูตร
2. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา (เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌานที่ 1
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 2
3. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 3
4. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดา
ชั้นสุภกิณหะ (เทวดาผู้เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นสัตตาวาสประการ
ที่ 4
5. มีสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา คือ เทวดาชั้นอสัญญีสัตตพรหม
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 5
6. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 6
7. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 7
8. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาส
ประการที่ 8
9. มีสัตว์ผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ 9
ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส 9 ประการนี้แล

สัตตาวาสสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :482 }