เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 10.เวลามสูตร
10. เวลามสูตร
ว่าด้วยเวลามพราหมณ์
[20] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ท่านคหบดี ในตระกูลของท่านยังให้ทานอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่
พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานนั้นแลเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม
ถ้าให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ทาน ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง
ให้ทานเหมือนจะทิ้ง1 เป็นผู้ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทาน2 ในตระกูลที่ทานนั้น ๆ
บังเกิดผล เขาไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้า
อย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี และไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ3 5
อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร
ก็ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรม
ที่ตนได้กระทำโดยไม่เคารพ

เชิงอรรถ :
1 ให้ทานเหมือนจะทิ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่ให้ทานอย่างต่อเนื่อง ให้ทานเหมือนต้องการจะทิ้ง (องฺ.นวก.อ.
3/20/297)
2 ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อกรรมและผลกรรมแต่ก็ให้ทาน (องฺ.นวก.อ. 3/20/297)
3 กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” แปลว่า “ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก” ดู ที.ม. 10/377/
251, ม.มู. 12/110/79, ขุ.ขุ. 25/3/2, และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” แปลว่า “ช่างดอกไม้พึง
ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก” ดู ขุ.ธ. 25/53/26 (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/63/148)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :470 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 10.เวลามสูตร
คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ถ้าให้ทานนั้นโดยเคารพ
ทำความนอบน้อมให้ทาน ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานไม่เหมือนจะทิ้ง เป็นผู้
เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในตระกูลที่ทานนั้น ๆ บังเกิดผล เขาน้อมจิตไปเพื่อ
บริโภคอาหารอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้าอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี
และน้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ
บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกรก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้โดยเคารพ
คหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ1 เขาให้ทานเป็นมหาทาน
อย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองคำเต็มด้วยรูปิยะ 84,000 ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วย
ทองคำ 84,000 ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน 84,000 ถาด ให้ช้าง 84,000 เชือก
มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้รถ 84,000 คัน
หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้ากัมพล
เหลือง มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้แม่โคนม
84,000 ตัว มีน้ำนมที่รีดและไหลสะดวก มีภาชนะสำริดสำหรับรองรับ ให้หญิงสาว
84,000 คนสวมแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์2 84,000 ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์3
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วยขนแกะลาย
ดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสี
แดงวางไว้ทั้ง 2 ข้าง4 ให้ผ้า 84,000 พับ เป็นผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหม

เชิงอรรถ :
1 ที่มีชื่อว่า เวลามะ เพราะมีคุณสมบัติมากมาย ไร้ขอบเขต เช่น เพียบพร้อมด้วยชาติ โคตร รูปร่างลักษณะ
โภคสมบัติ ศรัทธา และปัญญา (เวลาโมติ เอตฺถ มา-สทฺโธ ปฏิเสธวจโน, ชาติโคตฺตรูปโภคาทิคุณานํ
เวลา มริยาทา นตฺถิ เอตสฺมินฺติ เวลาโม) ดู องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/20/354
2 บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงที่มีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. 3/254/169)
3 ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน 4 นิ้ว (วิ.อ. 3/254/169)
4 หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง 2 ข้าง หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ 1 ใบ และใช้หนุนเท้า 1 ใบ วางไว้
ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. 3/254/169-170) และดู องฺ.ติก. (แปล) 20/35/190

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :471 }