เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 6.สัญญาสูตร
5. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล 9 แห่ง
[15] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก 9 แผล
เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น
ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด
ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป 4 นี้
ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ
ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่
ไม่แตก 9 แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก
แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า
แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ 5 จบ

6. สัญญาสูตร1
ว่าด้วยสัญญา
[16] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ2 มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123
2 อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/48-49/184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :464 }