เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 4.สมิทธิสูตร
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ
สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น’ ท่านก็ตอบว่า ‘มีนามรูปเป็นอารมณ์
ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน’ ท่านก็
ตอบว่า ‘ที่ธาตุ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ’
ดีละ ดีละ ท่านสมิทธิ ดีจริง ท่านสมิทธิ ท่านถูกเราถามปัญหาแล้วก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตนด้วยการแก้ปัญหานั้น”
สมิทธิสูตรที่ 4 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :463 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 6.สัญญาสูตร
5. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล 9 แห่ง
[15] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก 9 แผล
เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น
ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด
ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป 4 นี้
ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ
ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่
ไม่แตก 9 แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก
แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า
แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ 5 จบ

6. สัญญาสูตร1
ว่าด้วยสัญญา
[16] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ2 มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา 9 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/56/123
2 อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/48-49/184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :464 }