เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 3.โกฏฐิตสูตร
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้
มีพระภาคเพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้
คือ บุคคลอยู่ประพฤติพรมหจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อเห็น
สิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้
สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’
ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้
เพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้นี้แล”
โกฏฐิตสูตรที่ 3 จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :461 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 4.สมิทธิสูตร
4. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยเรื่องวิตก
[14] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตก(วิตกอันเป็นความดำริ) ของบุรุษมีอะไรเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น”
“มีนามรูปเป็นอารมณ์ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน”
“ที่ธาตุ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด”
“มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม”
“มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข”
“มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่”
“มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง”
“มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น”
“มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง”
“มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :462 }