เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 2.สอุปาทิเสสสูตร
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโกลังโกละ ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล 2 หรือ
3 ตระกูล ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ 8 ผู้เป็น
สอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ
และวินิบาตได้
9. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์อย่างมาก 7 ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคล
จำพวกที่ 9 ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เป็นพวกไหน และ
พวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็น
อนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส สารีบุตร บุคคล 9 จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว
อย่านำมาซึ่งความประมาท อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา”

สอุปาทิเสสสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :458 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.สีหนาทวรรค 3.โกฏฐิตสูตร
3. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[13] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน1 ขอกรรมนั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/63/577, องฺ.ทสก. (แปล) 24/217/357, อภิ.ก. 37/635/385,890-
891/506-507

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :459 }