เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 3.วัชชิสัตตกวรรค 9.ทุติยปริหานิสูตร
3. ไม่ศึกษาในอธิศีล1
4. ไม่มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ2
5. ฟังธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
6. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
7. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน3
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 7 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 7 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
2. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
3. ศึกษาในอธิศีล
4. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
5. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
6. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
7. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 7 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล

เชิงอรรถ :
1 อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล 5 และศีล 10 (องฺ.สตฺตก.อ. 3/29/178)
2 ผู้เป็นเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้น
ไปและทรงจำพระปาติโมกข์ได้
ผู้เป็นนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่มีพรรษาต่ำกว่า 5 ที่ยังต้อง
ถือนิสสัย
ผู้เป็นมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ 5 แต่ยังไม่ถึง 10 (เทียบ วิ.อ. 1/45/253)
3 ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน หมายถึงให้เครื่องไทยธรรมแก่เดียรถีย์ก่อนแล้วจึงถวายแก่ภิกษุในภายหลัง
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/29/178) และดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/175/292

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :45 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 3.วัชชิสัตตกวรรค 10. วิปัตติสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม 7 ประการ
อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล
มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม 7 ประการ
อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ทุติยปริหานิสูตรที่ 9 จบ

10. วิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก
[30] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก 7 ประการนี้ ฯลฯ1
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติของอุบาสก 7 ประการนี้ ฯลฯ
วิปัตติสูตรที่ 10 จบ

เชิงอรรถ :
1 เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ 30-31 ดูความเต็มในข้อ 29 (ทุติยปริหานิสูตร) หน้า 44-45
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :46 }