เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 6.เสวนาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต 2 อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ 2 อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
เสนาสนะนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม 2 อย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :444 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 7.สุตวาสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง
คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนั้นว่า บรรดาชนบทและประเทศ 2 อย่างนั้น ชนบทและ
ประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย
เจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ ชนบทและประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและประเทศนี้ควรอยู่อาศัย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เสวนาสูตรที่ 6 จบ

7. สุตวาสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสุตวา
[7] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสุตวาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สุตวา ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :445 }