เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 6.เสวนาสูตร
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้
บุคคลนั้น ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุรู้
บุคคลนั้นแล้วควรติดตามบุคคลนั้นไป ไม่ควรจากไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น และบริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุควร
ติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงจากไป แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี 2 ประเภท คือ บุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ จีวรที่ควร
ใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาจีวร 2 อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอย
จีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควร
ใช้สอย จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ จีวรที่ใช้ควรสอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :443 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 6.เสวนาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต 2 อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ 2 อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
เสนาสนะนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม 2 อย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :444 }