เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 5.พลสูตร
พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ เลิศกว่าความมีตนเสมอ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังคหพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ 4 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ 4 ประการนี้ ย่อมข้ามพ้นภัย
5 ประการได้
ภัย 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อาชีวิกภัย (ภัยเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ)
2. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
3. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
4. มรณภัย (ภัยคือความตาย)
5. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่กลัวอาชีวิกภัย เราจัก
กลัวอาชีวิกภัยไปทำไม เรามีพละ 4 ประการ คือ (1) ปัญญาพละ (2) วิริยพละ
(3) อนวัชชพละ (4) สังคหพละ คนมีปัญญาทรามพึงกลัวอาชีวิกภัย คนเกียจคร้าน
พึงกลัวอาชีวิกภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมี
การงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวอาชีวิกภัย คนผู้ไม่สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวอาชีวิกภัย
เราไม่กลัวอสิโลกภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวปริสสารัชชภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวมรณภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวทุคคติภัย เราจักกลัวทุคคติภัยไปทำไม เรามีพละ 4 ประการ คือ
(1) ปัญญาพละ (2) วิริยพละ (3) อนวัชชพละ (4) สังคหพละ คนมีปัญญาทราม
พึงกลัวทุคคติภัย คนเกียจคร้านพึงกลัวทุคคติภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ
มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมีการงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวทุคคติภัย คนผู้ไม่
สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวทุคคติภัย’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ 4 ประการนี้แล ย่อมข้ามพ้นภัย
5 ประการนี้ได้
พลสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :441 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 6.เสวนาสูตร
6. เสวนาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ1
[6] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี 2 ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ จีวรที่ควรใช้สอย และจีวร
ที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และ
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่
อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและ
ประเทศก็พึงทราบว่ามี 2 อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบท
และประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้เช่นนี้แล2ว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี 2 ประเภท คือ บุคคล
ที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบุคคล 2 ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้บุคคลนั้นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน
ก็ตาม ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ----------------------------------------

--
1 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/54/116-119
2 ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/63/571-579

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :442 }