เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 5.พลสูตร
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม
ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา
ธรรมตามกาล
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ1
ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ
เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
โดยวิธีนั้น ๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว2 บรรลุ
ประโยชน์ตน3โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว4 หลุดพ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. 3/4/289)
2 ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. 2/38/139)
3 บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. 2/38/139)
4 สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ.
2/38/139)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :438 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 5.พลสูตร
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ประกอบธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน1อยู่เนือง ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5
ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตาม
กาล 5 ประการนี้แล”
นันทกสูตรที่ 4 จบ

5. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[5] ภิกษุทั้งหลาย พละ 4 ประการนี้
พละ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
2. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร)
3. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
4. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม
ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ
ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่
ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม
ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ
นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น
ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ และ
เป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. 3/4/289)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :439 }