เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 4.นันทกสูตร
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 1 ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ
แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม
ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 ในการฟัง
ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง
ในธรรมนั้นด้วยปัญญา1 นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ในการฟังธรรม
ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล

เชิงอรรถ :
1 ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง หรือ
ปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. 3/4/289)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :437 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 5.พลสูตร
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม
ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา
ธรรมตามกาล
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ1
ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ
เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
โดยวิธีนั้น ๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว2 บรรลุ
ประโยชน์ตน3โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว4 หลุดพ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. 3/4/289)
2 ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. 2/38/139)
3 บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. 2/38/139)
4 สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ.
2/38/139)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :438 }