เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 4.นันทกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์1ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท 4 ประการแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า
‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ
ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้
บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม
ตามกาล 5 ประการนี้


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 สัตตกนิบาตข้อ 6 หน้า 11 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 4.นันทกสูตร
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 1 ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ
แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม
ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 ในการฟัง
ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง
ในธรรมนั้นด้วยปัญญา1 นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ในการฟังธรรม
ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล

เชิงอรรถ :
1 ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง หรือ
ปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. 3/4/289)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :437 }