เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 4.นันทกสูตร
“นันทกะ ธรรมบรรยาย1ที่เธอแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายนี้ยาวจริงนะ แม้เราคอย
ฟังอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ก็ยังรู้สึกเมื่อยหลัง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกกระดากใจ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์รู้ ก็จะแสดงไม่ได้ถึงเพียงนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าท่านพระนันทกะกำลังกระดากใจ จึง
ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ นันทกะ การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งประชุมกันทำกิจ 2 อย่าง คือ ธรรมีกถา
หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้า
แต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้”



เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาตข้อ 51 หน้า 85 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :435 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 4.นันทกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์1ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท 4 ประการแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า
‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ
ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้
บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม
ตามกาล 5 ประการนี้


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 สัตตกนิบาตข้อ 6 หน้า 11 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :436 }