เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 2.นิสสยสูตร
2. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[2] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย1 ผู้ถึงพร้อม
ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
1. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้
2. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ
3. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ
4. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ
5. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา
อันเป็นอริยะ2 เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว
ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม 4 ประการอยู่
ธรรม 4 ประการ3 อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาแล้วเสพ
2. พิจารณาแล้วอดกลั้น

เชิงอรรถ :
1 นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. 3/2/286)
2 ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. 3/2/286)
3 พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น
พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น
พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ดู ที.ปา. 11/308/
200, องฺ.ทสก. (แปล) 24/20/40, ที.ปา.อ. 308/204

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :429 }