เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 1.สัมโพธิสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม
4 ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
1. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ1
2. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท2
3. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก3
4. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ4
ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้
อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท
ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ
ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว
ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ
เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว
สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. 3/1/285)
2 เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น (องฺ.นวก.อ.
3/1/286)
3 ดู ม.ม. 13/141/95-96, ม.อุ. 14/147/130-131, สํ.ม. 19/977/269, องฺ.ทสก. (แปล) 24/6/
131-132)
4 อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) 9 ประการ คือ (1) เป็นผู้เลิศกว่าเขา
ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (2) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (3) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(4) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (5) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (6) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว
ว่าด้อยกว่าเขา (7) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (8) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
(9) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/38/339, องฺ.นวก.อ. 3/1/286) และดู
อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1239/314, อภิ.วิ. (แปล) 35/832/536,866-877/554-558,962/616

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :428 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 2.นิสสยสูตร
2. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[2] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย1 ผู้ถึงพร้อม
ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
1. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้
2. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ
3. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ
4. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ
5. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา
อันเป็นอริยะ2 เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว
ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม 4 ประการอยู่
ธรรม 4 ประการ3 อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาแล้วเสพ
2. พิจารณาแล้วอดกลั้น

เชิงอรรถ :
1 นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. 3/2/286)
2 ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. 3/2/286)
3 พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น
พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น
พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ดู ที.ปา. 11/308/
200, องฺ.ทสก. (แปล) 24/20/40, ที.ปา.อ. 308/204

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :429 }