เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 1.สัมโพธิสูตร
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็น
ในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
นี้เป็นเหตุประการที่ 3 แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
4. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร1 เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ 4 แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่าย
แห่งสัมโพธิ
5. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นเหตุประการที่ 5 แห่งการเจริญธรรมที่เป็น
ฝ่ายแห่งสัมโพธิ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ปรารภความเพียร หมายถึงประกอบความเพียรในสัมมัปปธาน (สารตฺถ.ฏีกา 3/84/292) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงระดมความเพียรเต็มที่ (สารตฺถ.ฏีกา 3/243/351) และดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/11/18

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :427 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.สัมโพธิวรรค 1.สัมโพธิสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม
4 ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
1. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ1
2. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท2
3. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก3
4. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ4
ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้
อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท
ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ
ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว
ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ
เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว
สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. 3/1/285)
2 เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น (องฺ.นวก.อ.
3/1/286)
3 ดู ม.ม. 13/141/95-96, ม.อุ. 14/147/130-131, สํ.ม. 19/977/269, องฺ.ทสก. (แปล) 24/6/
131-132)
4 อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) 9 ประการ คือ (1) เป็นผู้เลิศกว่าเขา
ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (2) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (3) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(4) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (5) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (6) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว
ว่าด้อยกว่าเขา (7) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (8) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
(9) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/38/339, องฺ.นวก.อ. 3/1/286) และดู
อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1239/314, อภิ.วิ. (แปล) 35/832/536,866-877/554-558,962/616

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :428 }