เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 9.ปฏิสารณียสูตร
9. ปฏิสารณียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรลงปฏิสารณียกรรม
[89] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรม1ต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 8 ประการ
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
2. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
3. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
4. ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
5. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
6. กล่าวติเตียนพระธรรม
7. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
8. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 8 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 8 ประการ
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
2. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดู วิ.จู. (แปล) 6/39/77-78

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :418 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 10.สัมมาวัตตนสูตร
3. ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
4. ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
5. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
6. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
7. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
8. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แล้วทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 8 ประการนี้แล
ปฏิสารณียสูตรที่ 9 จบ

10. สัมมาวัตตนสูตร
ว่าด้วยการประพฤติชอบ
[90] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรม1แล้ว พึงประพฤติ
ชอบในธรรม 8 ประการ คือ
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสสัย
3. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 สัตตกนิบาต ข้อ 84 หน้า 179-180

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :419 }