เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่ง
เนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เพราะท่าน
เหล่านี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้องแล้ว หมั่นประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอกเขนก และความสุขในการหลับอยู่
3. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธินั่งอยู่
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัด หรือสมณุทเทส1จักบำรุง
ท่านผู้นี้ จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่
ยินดี การอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
4. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือ
การหลับนี้แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
5. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้
เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
6. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
7. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภ
สักการะและการสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เข้ามารวมกันอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบล

เชิงอรรถ :
1 สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) 2/430/540)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 7.ปัตตนิกุชชนสูตร
และเมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะ
ใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
8. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ
และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะอัน
สงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่า
ของภิกษุนั้น
สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใคร ๆ ข้างหน้า หรือข้างหลัง สมัยนั้น
เราย่อมมีความผาสุก โดยที่สุด แม้แต่การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
ยสสูตรที่ 6 จบ

7. ปัตตนิกุชชนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการคว่ำบาตรและหงายบาตร
[87] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตร1ต่ออุบาสกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 8 ประการ
องค์ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
2. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
3. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
4. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
5. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
6. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
1 คว่ำบาตร ในที่นี้หมายถึงการสวดกรรมวาจาเพื่อไม่รับไทยธรรมของอุบาสกผู้ประพฤติผิดต่อสงฆ์ มิใช่
หมายถึงคว่ำปากบาตรลง (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/87/283)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :415 }