เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม และชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่
ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ
ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่
ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ สุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ
นาคิตะ แม้แต่เทวดาบางพวกก็ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก
ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบากนี้ นาคิตะ แม้แต่พวกเธอมาประชุมพร้อมหน้ากัน หมั่นประกอบ
การอยู่คลุกคลีอยู่ ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่ได้ตามความปรารถนา
ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ เพราะท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมหน้ากัน
หมั่นประกอบการอยู่คลุกคลีอยู่
1. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่ เรานั้น
มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่ได้
โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความ
ปรารถนา ฯลฯ เพราะท่านเหล่านี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่
2. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้อง
แล้ว หมั่นประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก
และความสุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :413 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่ง
เนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เพราะท่าน
เหล่านี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้องแล้ว หมั่นประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอกเขนก และความสุขในการหลับอยู่
3. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธินั่งอยู่
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัด หรือสมณุทเทส1จักบำรุง
ท่านผู้นี้ จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่
ยินดี การอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
4. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือ
การหลับนี้แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
5. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้
เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
6. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
7. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภ
สักการะและการสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เข้ามารวมกันอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบล

เชิงอรรถ :
1 สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) 2/430/540)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :414 }