เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระสมณ-
โคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่
ที่ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้พบ
พระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละจึงพากันถือเอาของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึง
ที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอกเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข1 ปวิเวกสุข
อุปสมสุข และสัมโพธิสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้

เชิงอรรถ :
1 เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช)
ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ
อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ
สัมโพธิสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. 140/133) และดู ม.อุ. 14/328/300, ขุ.จู. (แปล) 30/140/
451 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :412 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม และชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่
ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ
ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่
ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ สุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ
นาคิตะ แม้แต่เทวดาบางพวกก็ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก
ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบากนี้ นาคิตะ แม้แต่พวกเธอมาประชุมพร้อมหน้ากัน หมั่นประกอบ
การอยู่คลุกคลีอยู่ ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่ได้ตามความปรารถนา
ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ เพราะท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมหน้ากัน
หมั่นประกอบการอยู่คลุกคลีอยู่
1. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่ เรานั้น
มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่ได้
โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความ
ปรารถนา ฯลฯ เพราะท่านเหล่านี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่
2. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้อง
แล้ว หมั่นประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก
และความสุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :413 }