เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้จบเวท
ผู้เป็นศัลยแพทย์พึงบรรลุ
สิ่งใดที่ผู้หมดมลทิน
ผู้ปลอดมลทิน ผู้สะอาดพึงบรรลุ
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้ได้ญาณ
ผู้หลุดพ้นพึงบรรลุ
สิ่งนั้น ๆ เราบรรลุแล้ว
เรานั้นเป็นผู้ชนะสงคราม
เป็นผู้หลุดพ้น เปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก
เราเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ฝึกตนได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นอเสขบุคคล ปรินิพพานแล้ว1
สมณสูตรที่ 5 จบ

6. ยสสูตร
ว่าด้วยยศ2
[86] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
อิจฉานังคละ

เชิงอรรถ :
1 ปรินิพพานแล้ว ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้แล้ว (องฺ.อฏฺฐก. 3/85/282)
2 ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/30/41-44

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 6.ยสสูตร
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระสมณ-
โคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่
ที่ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้พบ
พระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละจึงพากันถือเอาของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึง
ที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอกเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข1 ปวิเวกสุข
อุปสมสุข และสัมโพธิสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้

เชิงอรรถ :
1 เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช)
ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ
อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ
สัมโพธิสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. 140/133) และดู ม.อุ. 14/328/300, ขุ.จู. (แปล) 30/140/
451 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :412 }