เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 4.สติวรรค 3.มูลกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ฟังธรรม
แล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ... ฟังแล้วทรงจำไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่
ทรงจำไว้ได้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ แต่หาใช่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ สอบถาม
เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังธรรมแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคต
จึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล จึงแจ่ม
แจ้งโดยแท้”
ปุณณิยสูตรที่ 2 จบ

3. มูลกสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง1
[83] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า
1. ธรรมทั้งปวง2มีอะไรเป็นมูลเหตุ
2. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด
3. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
4. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม

เชิงอรรถ :
1 องฺ.ทสก. (แปล) 24/58/125
2 ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ 5 (องฺ.อฏฺฐก. 3/83/281)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :407 }