เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 10.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
2. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว
เมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 2
3. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง
การที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ 3
4. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้ว
เมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ 4
5. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ
นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 5
6. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ 6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :403 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
7. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ 7
8. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้
ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ 8
ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ 8 ประการนี้แล
กุสีตารัมภวัตถุสูตรที่ 10 จบ
ยมกวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมสัทธาสูตร 2. ทุติยสัทธาสูตร
3. ปฐมมรณัสสติสูตร 4. ทุติยมรณัสสติสูตร
5. ปฐมสัมปทาสูตร 6. ทุติยสัมปทาสูตร
7. อิจฉาสูตร 8. อลังสูตร
9. ปริหานสูตร 10. กุสีตารัมภวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :404 }