เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 10.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
6. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
7. ความเป็นผู้ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
8. ความเป็นผู้ชอบปปัญจธรรม1
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 8 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 8 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
2. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
3. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
4. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
5. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
6. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
7. ความเป็นผู้ไม่ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
8. ความเป็นผู้ไม่ชอบปปัญจธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 8 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปริหานสูตรที่ 9 จบ

10. กุสีตารัมภวัตถุสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
[80] ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) 8 ประการนี้
กุสีตวัตถุ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 อัฏฐกนิบาต ข้อ 30 หน้า 280 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :400 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 10.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 1
2. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อ
เราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ 2
3. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ 3
4. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อ
เราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ 4
5. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ 5
6. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :401 }