เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 7.อิจฉาสูตร
ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เรา
เรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก
พระสัทธรรม
6. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็
เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่
เคลื่อนจากพระสัทธรรม
7. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก
ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
8. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา
ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่
หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล 8 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :394 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 8.อลังสูตร
8. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น1
[78] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ เป็นผู้มีความสามารถสำหรับ
ตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
2. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
3. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
4. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
5. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
6. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
2. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้

เชิงอรรถ :
1 ดูอัฏฐกนิบาตข้อ 62 (อลังสูตร) หน้า 357-361 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :395 }