เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 5.ปฐมสัมปทาสูตร
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์นั้นแล
ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างนี้แล
ทุติยมรณัสสติสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ 1
[75] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) 8 ประการนี้
สัมปทา 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
2. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
3. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
4. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
5. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
6. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
7. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
8. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 8 ประการนี้แล
คนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :388 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 6.ทุติยสัมปทาสูตร
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม 8 ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง 2 คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญนี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ปฐมสัมปทาสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา1 สูตรที่ 2
[76] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 8 ประการนี้
สัมปทา 8 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อุฏฐานสัมปทา 2. อารักขสัมปทา
3. กัลยาณมิตตตา 4. สมชีวิตา
5. สัทธาสัมปทา 6. สีลสัมปทา
7. จาคสัมปทา 8. ปัญญาสัมปทา

อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา

เชิงอรรถ :
1 ดูอัฏฐกนิบาต ข้อ 54 (ทีฆชาณุสูตร) หน้า 340-344 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :389 }