เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 3.ยมกวรรค 4. ทุติยมรณัสสติสูตร
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา พิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึง
ต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ พวกมนุษย์พึง
ทำร้ายเราก็ได้ หรือพวกอมนุษย์พึงทำร้ายเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึง
มีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่
เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :387 }