เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 3.วัชชิสัตตกวรรค 4.ทุติยสัตตกสูตร
6. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
7. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุตั้งสติมั่นไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา ขอให้มา และท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง 7 ประการนี้อยู่”
ปฐมสัตตกสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม 7 ประการ สูตรที่ 2
[24] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ1
อปริหานิยธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน2 ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการงาน
2. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย3 ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ 24-27 นี้ ดูความเต็มในข้อ 23 (ปฐมสัตตกสูตร)
หน้า 37 ในเล่มนี้
2 ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า
เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. 2/137/128, องฺ.สตฺตก.อ. 3/24/176 - 177,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา 3/14-15/118)
3 ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่
สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ (1) สนทนาธรรม (2) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. 2/137/128,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/24/177) และดู ม.มู. 12/273/235, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/22/452)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :38 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 3.วัชชิสัตตกวรรค 5.ตติยสัตตกสูตร
3. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ1 ฯลฯ
4. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ
5. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความ
ปรารถนาชั่ว
6. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
7. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุ
คุณวิเศษชั้นต่ำ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง 7 ประการนี้อยู่
ทุติยสัตตกสูตรที่ 4 จบ

5. ตติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม 7 ประการ สูตรที่ 3
[25] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา2

เชิงอรรถ :
1 ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะมีจิตตกภวังค์เพราะร่างกาย
เจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/24/177) และดู ม.มู.
12/387/345 (มหาสัจจกสูตร) ประกอบ
2 ศรัทธา มี 4 ประการ คือ (1) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ)
(2) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (3) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์)
(4) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น (ที.ม.อ.2/138/129)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :39 }