เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 3.วัชชิสัตตกวรรค 4.ทุติยสัตตกสูตร
6. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
7. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุตั้งสติมั่นไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา ขอให้มา และท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง 7 ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง 7 ประการนี้อยู่”
ปฐมสัตตกสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม 7 ประการ สูตรที่ 2
[24] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ1
อปริหานิยธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน2 ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการงาน
2. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย3 ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ 24-27 นี้ ดูความเต็มในข้อ 23 (ปฐมสัตตกสูตร)
หน้า 37 ในเล่มนี้
2 ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า
เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. 2/137/128, องฺ.สตฺตก.อ. 3/24/176 - 177,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา 3/14-15/118)
3 ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่
สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ (1) สนทนาธรรม (2) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. 2/137/128,
องฺ.สตฺตก.อ. 3/24/177) และดู ม.มู. 12/273/235, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/22/452)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :38 }