เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 6.วิโมกขสูตร
6. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 6
7. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 7
8. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ 8
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ 8 ประการนี้แล
อภิภายตนสูตรที่ 5 จบ

6. วิโมกขสูตร
ว่าด้วยวิโมกข์
[66] ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์1 8 ประการนี้
วิโมกข์ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มีรูป2 เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ที่ 1
2. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ที่ 2

เชิงอรรถ :
1 วิโมกข์(ความหลุดพ้น) หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้นๆ (องฺ.อฏฺฐก.
อ. 3/66/272) ดู ที.ม. 10/129/63, 174/100, ที.ปา 11/339/231, 358/271-272, ม.ม. 13/
248/223-224, อภิ.วิ. (แปล) 35/828/530-531
2 มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากอาการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่น ทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ
เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่าง ๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/
270,66/272)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :368 }