เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 4.คยาสีสสูตร
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะเดินไปที่ใด ๆ ก็เดินไปได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ยืนอยู่
ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนั่งอยู่ในที่ใด ๆ ก็นั่งอยู่ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนอน
อยู่ในที่ใด ๆ ก็นอนอยู่อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ1”
ภิกษุนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เธอจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สังขิตตสูตรที่ 3 จบ

4. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[64] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
1. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส2 แต่ไม่
เห็นรูปทั้งหลาย
2. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ3 นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/63/270)
2 โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/64/270)
3 ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ 8 คือ (1) ทิพพจักขุ-
ญาณ (2) อิทธวิธญาณ (3) เจโตปริยญาณ (4) ยถากัมมูปคญาณ (5) อนาคตังสญาณ (6) ปัจจุปปันนังส-
ญาณ (7) อตีตังสญาณ (8) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/64/270)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :364 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 4.คยาสีสสูตร
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัย
กับเทวดาเหล่านั้น
3. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย
และยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณ-
ทัสสนะนี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับ
เทวดาเหล่านั้น แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดานี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’
4-7. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้
มาจากเทพนิกายโน้น ๆ’ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา
ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา
เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ ฯลฯ รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจาก
ภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วย
วิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ แต่ไม่รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นาน
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้
ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม
หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :365 }