เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 3.สังขิตตสูตร
3. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
[63] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ โดยที่เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างที่
เขาทำกันมา และเมื่อเราแสดงธรรมแล้ว ก็คอยติดตามเราเรื่อยไป”
ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ทำอย่างไร
ข้าพระองค์จึงจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำอย่างไรข้าพระองค์
จึงจะเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจัก
ครอบงำจิตไม่ได้อยู่’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล จิตของเธอตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิตไม่ได้อยู่ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมตตา-
เจโตวิมุตติจักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :362 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 3.สังขิตตสูตร
อย่างนี้ว่า ‘มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ จักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอ
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :363 }