เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุคคล 8 จำพวกไหนบ้าง คือ

1. พระโสดาบัน 2. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
3. พระสกทาคามี 4. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
5. พระอนาคามี 6. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
7. พระอรหันต์ 8. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 8 จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล 8 จำพวก คือบุคคลผู้ปฏิบัติ 4 จำพวก
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล 4 จำพวก
เป็นสงฆ์ผู้สูงส่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย
บุญย่อมมีผลยิ่งแก่มนุษย์ผู้มุ่งบุญบูชากระทำอยู่
ทานที่บุคคลให้ในสงฆ์นี้ย่อมมีผลมาก
ทุติยปุคคลสูตรที่ 10 จบ
โคตมีวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โคตมีสูตร 2. โอวาทสูตร
3. สังขิตตสูตร 4. ทีฆชาณุสูตร
5. อุชชยสูตร 6. ภยสูตร
7. ปฐมอาหุเนยยสูตร 8. ทุติยอาหุเนยยสูตร
9. ปฐมปุคคลสูตร 10. ทุติยปุคคลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :354 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 2.ภูมิจาลวรรค 1.อิจฉาสูตร
2. ภูมิจาลวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
1. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยากได้ลาภ
[61] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 8 จำพวกนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล 8 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด1 แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง2
ความอยากได้ลาภ3ย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
แต่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ
ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้
อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม4
2. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภ
ก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้
เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจาก
สัทธรรม

เชิงอรรถ :
1 สงัด ในที่นี้หมายถึงความสงัดทางกาย (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/61/268)
2 ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง หมายถึงไม่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานให้ต่อเนื่องกันไป (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/61/268)
3 ลาภ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย 4 (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/61/268)
4 สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/61/268)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :355 }