เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 7.ปฐมอาหุเนยยสูตร
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘ลูกศร’ ฯลฯ
คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ คำว่า ‘เปือกตม’ ฯลฯ
คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
การอยู่ในครรภ์ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ นี้
จึงเป็นชื่อของกาม
ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี1
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีกเพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านี้ เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี
ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์
แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้เช่นนั้นก็ข้ามกามเป็นดุจทางลื่น2 ที่ข้ามได้ยาก
มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่
ภยสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1
[57] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
1 ราคะอันน่ายินดี หมายถึงกามสุข (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/56/267)
2 ทางลื่น หมายถึงทางแห่งวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิด (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/56/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :350 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 7.ปฐมอาหุเนยยสูตร
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ1 สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ฯลฯ2 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
4. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ
5. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
6. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ3
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
7. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ4 ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ5 เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 75 (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า 171-172 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 6 (วิตถตธนสูตร) หน้า 10-11 ในเล่มนี้
3 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 223 ในเล่มนี้
4 ดูความเต็มในข้อตามที่อ้างในเชิงอรรถที่ 3
5 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 75 (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า 172 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :351 }