เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 5.อุชชยสูตร
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ 4 ประการ คือ
1. ไม่เป็นนักเลงหญิง 2. ไม่เป็นนักเลงสุรา
3. ไม่เป็นนักเลงการพนัน 4. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า 4 ทาง มีทางไหลออก 4 ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เพิ่มปริมาณขึ้น ไม่เหือดแห้งไปเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเจริญ 4 ประการ คือ
1. ไม่เป็นนักเลงหญิง 2. ไม่เป็นนักเลงสุรา
3. ไม่เป็นนักเลงการพนัน 4. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พราหมณ์ ธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขใน
ภพนี้แก่กุลบุตร
พราหมณ์ ธรรม 4 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า
เพื่อสุขในภพหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา 2. สีลสัมปทา
3. จาคสัมปทา 4. ปัญญาสัมปทา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ1 เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ2 เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 49 (ปฐมอิธโลกิกสูตร) หน้า 326 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 46 (อนุรุทธสูตร) หน้า 321 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :347 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 5.อุชชยสูตร
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ1 ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า
ปัญญาสัมปทา
พราหมณ์ ธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุขใน
ภพหน้าแก่กุลบุตร
คนขยันหมั่นเพียรในการงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม 8 ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง 2 คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญ ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
อุชชยสูตรที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 54 (ทีฆชาณุสูตร) หน้า 344 ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :348 }