เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 4.ทีฆชาณุสูตร
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล
มะเดื่อ‘1 ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหา
เขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเสื่อม 4 ประการ คือ
1. เป็นนักเลงหญิง 2. เป็นนักเลงสุรา
3. เป็นนักเลงการพนัน 4. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า 4 ทาง มีทางไหลออก 4 ทาง บุรุษ
พึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เหือดแห้งไป ไม่เพิ่มปริมาณขึ้นเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเสื่อม 4 ประการ คือ
1. เป็นนักเลงหญิง 2. เป็นนักเลงสุรา
3. เป็นนักเลงการพนัน 4. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ 4 ประการ คือ
1. ไม่เป็นนักเลงหญิง 2. ไม่เป็นนักเลงสุรา
3. ไม่เป็นนักเลงการพนัน 4. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า 4 ทาง มีทางไหลออก 4 ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงคนที่ต้องการกินผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อให้ผลสุก ๆ ร่วงลงมาจำนวนมาก แต่แล้วเขาก็กลับหยิบ
มากินเพียงบางผลเท่านั้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/54/266)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :342 }