เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 4.ทีฆชาณุสูตร
4. ทีฆชาณุสูตร
ว่าด้วยโกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุ
[54] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฬิยะชื่อว่า
กักกรปัตตะ เขตกรุงโกฬิยะ ครั้งนั้น โกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี อยู่ครองเรือน
นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ของชาวกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ยินดีทองและเงิน1 ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้
เพื่อสุขในภพนี้และเพื่อเกื้อกูลในภพหน้าเพื่อสุขในภพหน้าแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พยัคฆปัชชะ2 ธรรม 4 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้แก่กุลบุตร
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
2. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
3. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
4. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา----------------------------------------

--
1 ดู ขุ.อุ. 25/52/186
2 พยัคฆปัชชะ เป็นชื่อเรียกชาวโกฬิยะ เพราะบรรพบุรุษของชาวโกฬิกะนี้สร้างบ้านเรือนอยู่ในพยัคฆปัชช-
นคร (นครทางเสือผ่าน) (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/194/413)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :340 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 4.ทีฆชาณุสูตร
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม1 ได้มาโดยธรรม2 เขารักษา
คุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา จึงจะไม่ถูก
พระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’ นี้เรียกว่า
อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในหมู่บ้านหรือใน
นิคมที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้เคร่ง
ศีลก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร
คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทา
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทาของท่านผู้
ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการ
ใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้อง
ลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง

เชิงอรรถ :
1 ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงมีกุศลธรรม 10 ประการ (องฺ.ติก.ฏีกา. 2/14/103)
2 ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงโภคทรัพย์ที่บุคคลดำรงอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 แล้วได้มา (องฺ.จตุกฺก.อ.
2/61/353)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :341 }