เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 3.สังขิตตสูตร
3. เป็นผู้ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดย
พิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ1
4. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้
5. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้ภิกษุณีสงฆ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
6. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของภิกษุณีโดยมาก
7. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม2 ในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้
8. มีพรรษา 20 หรือเกิน 20
อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้
สั่งสอนภิกษุณี”
โอวาทสูตรที่ 2 จบ

3. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยลักษณะธรรมวินัยโดยย่อ3
[53] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ในสัตตกนิบาต ข้อ 76 (ทุติยวินยสูตร) หน้า 173 ในเล่มนี้
2 เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม หมายถึงในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยจับต้องกายภิกษุณี ไม่เคย
ประพฤติผิดประเวณีกับนางสิกขมานาหรือสามเณรี (วิ.อ. 2/145-147/319, องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/52/265)
3 วิ.จู. (แปล) 7/406/322-323

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :338 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์] 1.โคตมีวรรค 3.สังขิตตสูตร
“ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อที่เมื่อหม่อมฉัน
ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
1. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
2. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
3. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
4. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
5. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
6. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
7. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภ
ความเพียร
8. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่
วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์’
โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
1. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
2. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
3. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อการสะสม
4. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
5. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
6. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
7. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
8. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย
นั่นเป็นสัตถุศาสน์”
สังขิตตสูตรที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :339 }