เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.อุโปสถวรรค 6.อนุรุทธสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้
ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมด
พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่อง
ประดับขาว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว
บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ
เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล1 เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ 52 ที่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญปรับดีแล้ว
ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ทอดอินทรีย์ลง3
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า “พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย” จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นเวลาเย็นท่านพระอนุรุทธะได้ออกจากที่หลีกเร้น4 เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 หลงใหล ในที่นี้หมายถึงทำให้เกิดความมัวเมาเพราะมานะและความมัวเมาเพราะความเป็นชาย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/46/260)
2 ดนตรีมีองค์ 5 คือ (1) อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว (2) วิตตะ ตะโพน (3) อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์
(4) สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย (5) ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/46/259, อภิธา.
คาถา 139-140)
3 ทอดอินทรีย์ลง ในที่นี้หมายถึงทอดสายตาลง ไม่ลืมตาดู (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/46/260)
4 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 70 หน้า 150 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :318 }