เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.อุโปสถวรรค 5.โพชฌาสูตร
แม้หากต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนานแก่ต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้เกิดเป็นมนุษย์เล่า”
วาเสฏฐสูตรที่ 4 จบ

5. โพชฌาสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา
[45] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
1. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้
ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและ
อยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ 1 นี้
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :314 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.อุโปสถวรรค 5.โพชฌาสูตร
8. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ 8 นี้
โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ 16 แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการเหล่านี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมี
ค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
50 ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช 30 ราตรี
ีโดยราตรีนั้น เป็น 1 เดือน 12 เดือนโดยเดือนนั้น เป็น 1 ปี 500 ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
100 ปีของมนุษย์ ฯลฯ
200 ปีของมนุษย์ ฯลฯ
400 ปีของมนุษย์ ฯลฯ
800 ปีของมนุษย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :315 }